วันศุกร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2559

 วงจรไฟฟ้า เป็นการนำเอาสายไฟฟ้าหรือตัวนำไฟฟ้าที่เป็นเส้นทางเดินให้กระแสไฟฟ้าสามารถไหลผ่านต่อถึงกันได้นั้นเราเรียกว่า วงจรไฟฟ้า การเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนที่อยู่ภายในวงจรจะเริ่มจากแหล่งจ่ายไฟไปยังอุปกรณ์ไฟฟ้า ดังการแสดงการต่อวงจรไฟฟ้าเบื้องต้นโดยการต่อแบตเตอรี่ต่อเข้ากับหลอดไฟ หลอดไฟฟ้าสว่างได้เพราะว่ากระแสไฟฟ้าสามารถไหลได้ตลอดทั้งวงจรไฟฟ้าและเมื่อหลอดไฟฟ้าดับก็เพราะว่ากระแสไฟฟ้าไม่สามารถไหลได้ตลอดทั้งวงจร เนื่องจากสวิตซ์เปิดวงจรไฟฟ้าอยู่นั่นเอง
            แสดงวงจรไฟฟ้าเบื้องต้น  มีส่วนประกอบหลัก 3 ส่วน  ส่วนประกอบหลักแต่ละส่วนมีหน้าที่การทำงานดังนี้
            1.  แหล่งจ่ายไฟฟ้า  เป็นแหล่งจ่ายแรงดันและกระแสให้กับอุปกรณ์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้าโดยแหล่งจ่ายไฟฟ้าสามารถนำมาได้จากหลายแหล่งกำเนิด  เช่น  จากปฏิกิริยาเคมี  จากขดลวดตัดสนามแม่เหล็ก  และจากแสงสว่าง  เป็นต้น  บอกหน่วยการวัดเป็นโวลต์ (Volt) หรือ V
            2.  โหลดหรืออุปกรณ์ไฟฟ้า  เป็นอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ไฟฟ้าในการทำงาน  โหลดจะทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าให้เป็นพลังงานรูปอื่นๆ เช่น เสียง แสง ความร้อน  ความเย็น และการสั่นสะเทือน เป็นต้น  โหลดเป็นคำกล่าวโดยรวงมถึงอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิดอะไรก็ได้ เช่น  ตู้เย็น  พัดลม เครื่องซักผ้า  โทรทัศน์  วิทยุ  และเครื่องปรับอากาศ เป็นต้น  โหลดแต่ละชนิดจะใชัพลังงานไฟฟ้าไม่เท่ากัน  ซึ่งแสดงด้วยค่าแรงดัน  กระแส  และกำลังไฟฟ้า
            3.  สายไฟต่อวงจร  เป็นสายตัวนำหรือสายไฟฟ้า  ใช้เชื่อมต่อวงจรให้ต่อถึงกันแบบครบรอบ  ทำให้แหล่งจ่ายแรงดันต่อถึงโหลดเกิดกระแสไหลผ่านวงจร  จากแหล่งจ่ายไม่โหลดและกลับมาครบรอบที่แหล่งจ่ายอีกครั้ง  สายไฟฟ้าที่ใช้ต่อวงจรทำด้วยทองแดงมีฉนวนหุ้มโดยรอบเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการใช้งาน
6.2  แบบวงจรไฟฟ้า
    ส่วนสำคัญของวงจรไฟฟ้าคือการต่อโหลดใช้งาน  โหลดที่นำมาต่อใช้งานในวงจรไฟฟ้าสามารถต่อได้เป็น  3  แบบด้วยกัน  ได้แก่  วงจรำฟฟ้าแบบอนุกรม  (Series Electrical Circuit) วงจรไฟฟ้าแบบขนาน (Parallel Electrical Circuit) และวงจรไฟฟ้าแบบผสม (Series - Parallel Electrical Circuit)

6.2.1  วงจรไฟฟ้าแบบอนุกรม
            จรอนุกรมหมายถึง การนำเอาอุปกรณ์ทางไฟฟ้ามาต่อกันในลักษณะที่ปลายด้านหนึ่งของอุปกรณ์ตัวที่ 1 ต่อเข้ากับอุปกรณ์ตัวที่ 2 จากนั้นนำปลายที่เหลือของอุปกรณ์ตัวที่ 2 ไปต่อกับอุปกรณ์ตัวที่ 3 และจะต่อลักษณะนี้ไปเรื่อยๆ ซึ่งการต่อแบบนี้จะทำให้กระแสไฟฟ้าไหลไปในทิศทางเดียวกระแสไฟฟ้าภายในวงจรอนุกรมจะมีค่าเท่ากันทุกๆจุด ค่าความต้านทานรวมของวงจรอนุกรมนั้นคือการนำเอาค่าความต้านทานทั้งหมดนำมารวมกันส่วนแรงดันไฟฟ้าในวงจรอนุกรมนั้นแรงดันจะปรากฎคร่อมตัวต้านทานทุกตัวที่จะมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านซึ่งแรงดันไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจะมีค่าไม่เท่ากันโดยสามารถคำนวนหาได้จากกฎของโอห์ม

รูปแสดงวงจรไฟฟ้าแบบอนุกรม

6.2.2  วงจรไฟฟ้าแบบขนาน
            วงจรที่เกิดจากการต่ออุปกรณ์ไฟฟ้าตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไปให้ขนานกับแหล่งจ่ายไฟมีผลทำให้ค่าของแรงดันไฟฟ้าที่ตกคร่อมอุปกรณ์ไฟฟ้าแต่ละตัวมีค่าเท่ากัน ส่วนทิศทางการไหลของกระแสไฟฟ้าจะมีตั้งแต่ 2 ทิศทางขึ้นไปตามลักษณะของสาขาของวงจรส่วนค่าความต้านทานรวมภายในวงจรขนานจะมีค่าเท่ากับผลรวมของส่วนกลับของค่าความต้านทานทุกตัวรวมกัน ซึ่งค่าความต้านทานรวมภายในวงจรไฟฟ้าแบบขนานจะมีค่าน้อยกว่าค่าความต้านทานภายในสาขาที่มีค่าน้อยที่สุดเสมอ และค่าแรงดันที่ตกคร่อมความต้านทานไฟฟ้าแต่ละตัวจะมีค่าเท่ากับแรงเคลื่อนของแหล่งจ่าย

รูปแสดงวงจรไฟฟ้าแบบขนาน
6.2.3  วงจรไฟฟ้าแบบผสม
            เป็นการต่อวงจรไฟฟ้าโดยการต่อรวมกันระหว่างวงจรไฟฟ้าแบบอนุกรมกับวงจรไฟฟ้าแบบขนาน  ภายในวงจรโหลดบางตัวต่อวงจรแบบอนุกรม  และโหลดบางตัวต่อวงจรแบบขนาน  การต่อวงจรไม่มีมาตรฐานตายตัว  เปลี่ยนแปลงไปตามลักษณะการต่อวงจรตามต้องการ  การวิเคราะห์แก้ปัญหาของวงจรผสม  ต้องอาศัยหลักการทำงานตลอดจนอาศัยคุณสมบัติของวงจรไฟฟ้าทั้งแบบอนุกรมและแบบขนาน  ลักษณะการต่อวงจรไฟฟ้าแบบผสม

รูปแสดงวงจรไฟฟ้าแบบขนาน

6.3  การต่อเซลล์ไฟฟ้า
    เซลล์ไฟฟ้าที่ถูกสร้างขึ้นมาในรูปแบตเตอรี่  ถ่านไฟฉาย  หรือแหล่งจ่ายไฟต่างๆ แต่ละเซลล์ไฟฟ้าสามารถผลิตแรงดันออกมาได้ต่ำ  เซลล์ไฟฟ้าบางชนิดมีแรงดันเพียง 1.2V, 1.5V , 6V , 9V , 12V และ 24V เป็นต้น  การนำเซลล์ไฟฟ้าไปใช้งานบางครั้งต้องการแรงดันมากขึ้น  จึงจำเป็นต้องต่อเซลล์ไฟฟ้าเข้าด้วยกัน  เพื่อให้ได้แรงดัน  กระแส  และกำลังไฟฟ้าเพิ่มขึ้นตามต้องการ  รูปและสัญลักษณ์ของเซลล์ไฟฟ้า  แสดงดังรูป
            การต่อเซลล์ไฟฟ้าต่อได้  3  วิธีด้วยกันดังนี้
                      1.)  การต่อเซลล์แบบอนุกรม (Series Cells)
                      2.)  การต่อเซลล์แบบขนาน (Parallel  Cells)
                      3.)  การต่อเซลล์แบบผสม (Series - Parallel Cells)
6.4  การต่อเซลล์ไฟฟ้าแบบอนุกรม
           
ลักษณะคุณสมบัติของวงจรอนุกรม
1. ในวงจรหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของวงจรอนุกรมจะมีกระแสไหลผ่านในทิศทางเดียวเท่านั้น
2. แรงดันตกคร่อมที่ความต้านทานแต่ละตัวในวงจรเมื่อนำมาร่วมกันจะมีค่าเท่ากับแรงดันที่จ่ายให้กับวงจร
3. ค่าความต้านทานย่อยแต่ละตัวในวงจร เมื่อนำมารวมกันก็จะมีค่าเท่ากับค่าความต้านทานรวมกันทั้งหมดในวงจร
4. กำลังและพลังงานไฟฟ้าที่เกิดขึ้นที่ความต้านทานย่อยแต่ละตัวในวงจร เมื่อนำมารวมกันก็จะมีค่าเท่ากำลังและพลังงานไฟฟ้าทั้งหมดในวงจร

6.5  การต่อเซลล์ไฟฟ้าแบบขนาน
           
วงจรขนาน
สำหรับค่าแรงดันไฟฟ้าในวงจรขนานที่ตกคร่อมตัวต้านทานแต่ละตัวนั้น มีค่าเท่ากับค่าแรงดันไฟฟ้าของแหล่งจ่ายไฟ แรงดันไฟฟ้าที่ตกคร่อมความต้านทานแต่ละตัวซึ่งมีค่าเท่ากับ
VR1 = VR2 = VR3 = VR4 = VS = 9V


กระแสไฟฟ้าในวงจรขนาน
กระแสไฟฟ้าภายในวงจรขนานจะมีหลายค่าด้วยกัน ทั้งนี้เนื่องจากทิศทางการไหลของกระแสไฟฟ้ามีมากกว่า 1 ทิศทาง ดังนั้น การคำนวนหาค่ากระแสไฟฟ้าจึงใช้กฎของ Kerchhoff,s Current Law โดยมีวิธีการคำนวนสองวิธีคือ

1. กระแสไฟฟ้ารวมภายในวงจร ( IT ) จะมีค่าเท่ากับผลรวมของกระแสไฟฟ้าที่ไหลแยกในแต่ละทิศทาง ( I1 + I2 + I3 + I4+…..)
2. กระแสไฟฟ้าที่ไหลเข้าสู่จุดๆ หนึ่งจะมีค่าเท่ากับกระแสไฟฟ้าที่ไหลออกจากจุดๆ นั้นเสมอ

การวัดแรงดันตกคร่อมของตัวต้านทานในวงจรขนาน

ลักษณะคุณสมบัติของวงจรขนาน

1. แรงดันที่ตกคร่อมที่อิลิเมนท์ หรือที่ความต้านทานทุกตัวของวงจรจะมีค่าเท่ากันเพราะว่าเป็นแรงดันตัวเดียวกันในจุดเดียวกัน
2. กระแสที่ไหลในแต่ละสาขาย่อยของวงจร เมื่อนำมารวมกันจะมีค่าเท่ากับกระแสที่ไหลผ่านวงจรทั้งหมดหรือกระแสรวมของวงจร
3. ค่าความนำไฟฟ้าในแต่ละสาขาย่อยของวงจร เมื่อนำมารวมกันจะมีค่าเท่ากับค่าความนำไฟฟ้าทั้งหมดของวงจร
4. กำลังไฟฟ้าที่เกิดขึ้นที่อิลิเมนท์หรือค่าความต้านทานในแต่ละสาขาในวงจรเมื่อนำมาร่วมกันก็จะมีค่าเท่ากับกำลังและพลังงานไฟฟ้าทั้งหมดของวงจร

6.7  วงจรไฟฟ้าแสงสว่าง
           การที่จะทำให้เกิดแสงสว่างในวงจรไฟฟ้าได้นั้น ในวงจรจะต้องประกอบด้วยแหล่งจ่ายไฟฟ้าสำหรับป้อนแรงดันและกระแสให้กับหลอดโดยผ่านสายไฟ โดยที่แหล่งจ่ายไฟฟ้าจะเป็นแบบไฟฟ้ากระแสนตรงหรือระแสสลับขึ้นอยู่กับชนิดของหลอดที่ต้องการใช้กับไฟฟ้าประเภทใด
วงจรแบบเปิดไฟจะดับ
วงจรแบบปิดไฟจะติด
รูปแสดงการต่อวงจร
            ถ้าเป็นไฟฟ้าที่ใช้ตามอาคารบ้านเรือน ต้องป้อนไฟฟ้ากระแสสลับให้กับหลอดไฟ โดยที่แหล่งจ่ายไฟคือโรงไฟฟ้าบริเวณเขื่อนต่าง ๆ จะผลิตกระแสไฟฟ้าแล้วส่งมาตามสายไฟฟ้าแรงสูงผ่านหม้อแปลงที่การไฟฟ้าสถานีย่อย เพื่อแปลงแรงดันให้ลดลงเหลือประมาณ 12,000 โวลท์ แล้วส่งต่อมายังสายไฟตามถนนสายต่าง ๆ ก่อนที่จะตอเข้าอาคารบ้านเรือน จะมีหม้อแปลงที่ใช้ในการแปลงไฟจาก 12,000 โวลท์ เป็น 220 โวลท์ 1 เฟส โดยที่สายไฟจะมี 2 เส้น คือ ไลน์ (Line) และ นิวตรอน (Neutral) ไลน์ เป็นสายไฟที่มีไฟ ส่วนนิวตรอน เป็นสายดินไม่มีไฟ สามารถทดสอบได้โดยใช้ไขควงเช็คไฟ ถ้าไฟติดที่เส้นใดแสดงว่าเป็นเส้นไลน์ นอกจากนี้ยังมีระบบไฟฟ้าที่จ่ายให้กับโรงงานอุตสาหกรรมประเภท 3 เฟส ซึ่งแรงเคลื่อนที่จ่ายอาจจะเป็น 220 โวลท์ หรือ 380 โวลท์ขึ้นอยู่กับความต้องการใช้งาน โดยทั่วไปโรงงานอุตสาหกรรมจะต้องใช้ไฟมาก จึงจำเป็นที่จะต้องใช้ไฟแบบ 3 เฟส อาจจะมี 3 สาย หรือ 4 สาย ก็แล้วแต่ความต้องการใช้งาน

หลอดใส้
            โครงสร้างภายในประกอบด้วยไส้หลอดที่ทำมาจากทังสเตน, ก้านยึดใส้หลอด, ลวดนำกระแส , แผ่นฉนวนหักเหความร้อน,ฟิวส์,ท่อดูดอากาศ และขั้วหลอดแก้วจะบรรจุก๊าซเฉี่อย เช่น อาร์กอน หรือไนโตรเจน เพื่อไม่ให้หลอดที่ร้อยขณะป้อนกระแสไฟฟ้าไหลผ่านทำให้เกิดการเผาไหม้ไส้หลอดอาจจะขาดได้

       
หลอดฟลูออเรสเซนต์แบบต่างๆ
            เป็นหลอดไฟฟ้าที่นิยมใช้กันทั่วไป เพราะว่าให้แสงสว่างนวลสบายตา และมีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่าหลอดไส้ถึง 8 เท่า ลักษณะของหลอดเป็นรูปทรงกระบอก รูปวงกลมและตัวยู มีขนาดอัตราทนกำลัง 10 วัตต์, 20 วัตต์, 32 วัตต์, และ 40 วัตต์เป็นต้น ขนาด 40 วัตต์มีอายุการใช้ังาน 8,000 ถึง 12,000 ชั่วโมง ให้ความสว่างของแสงประมาณ 3,100 ลูเมน
  
            การต่อวงจรใช้งานเริ่มจากต่อสายไฟ 220 VAC เข้ากับสวิตช์ แล้วต่อเข้าหลอดไฟ ส่วนสายไฟอีกเส้นหนึ่งต่อเข้าหลอดไฟโดยตรงเมื่อทำการปิดสวิตซ์จะมีกระแสไหลทำให้หลอดไฟติดเป็นการต่อวงจรใช้งานที่ง่ายกว่าหลอดประเภทอื่น ๆ หลอดไฟประเภทนี้มีขนาดอัตราทนกำลัง 25 วัตต์ 40 วัตต์ 60 วัตต์ และ 100 วัตต์ หลอดไส้ขนาด 40 วัตต์มีอายุการใช้งาน 1,250 ชั่วโมงให้แสงสว่าง 430 ลูเมน เป็นต้น 

อุปกรณ์ไฟฟ้าในชีวิตประจำวันที่ควรรู้จัก

       1.เมนสวิตช์ (Main Switch) หรือสวิตช์ประธาน เป็นอุปกรณ์หลักที่ใช้สำหรับ ตัดต่อวงจรของสายเมน เข้าอาคาร กับสายภายใน ทั้งหมด เป็นอุปกรณ์สับปลด วงจรไฟฟ้าตัวแรก ถัดจากเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้า (มิเตอร์) ของการนำไฟฟ้า เข้ามาในบ้าน เมนสวิชต์ประกอบด้วย เครื่องปลดวงจร (Disconnecting Means) และเครื่องป้องกันกระแสเกิน (Overcurrent Protective Device) หน้าที่ของเมนสวิตช์ คือ คอยควบคุมการใช้ไฟฟ้า ให้เกิดความปลอดภัย ในกรณีที่ เกิดกระแสไฟฟ้าเกิน หรือ เกิดไฟฟ้าลัดวงจร เราสามารถสับหรือปลดออกได้ทันที เพื่อตัดไม่ให้กระแสไฟฟ้าไหลเข้ามายังอาคาร 
       2.เบรกเกอร์ (เซอร์กิตเบรกเกอร์) หรือ สวิชต์อัตโนมัติ หมายถึง อุปกรณ์ที่สามารถใช้สับ หรือปลดวงจรไฟฟ้าได้โดยอัตโนมัติ โดยกระแสลัดวงจรนั้น ต้องไม่เกินขนาดพิกัด ในการตัดกระแสลัดวงจรของเครื่อง (IC) 
       3. ฟิวส์ เป็นอุปกรณ์ป้องกัน กระแสไฟฟ้าเกินชนิดหนึ่ง โดยจะตัดวงจรไฟฟ้าอัตโนมัติ เมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลเกินค่าที่กำหนด และเมื่อฟิวส์ทำงานแล้ว จะต้องเปลี่ยนฟิวส์ใหม่ ขนาดพิกัดการตัดกระแสลัดวงจร (IC) ของฟิวส์ต้องไม่ต่ำกว่าขนาดกระแสลัดวงจรที่ผ่านฟิวส์ 
       4. เครื่องตัดไฟรั่ว หมายถึง สวิชต์อัตโนมัติที่สามารถปลดวงจรได้อย่างรวดเร็ว ภายในระยะเวลาที่กำหนด เมื่อมีกระแสไฟฟ้ารั่วไหลลงดินในปริมาณที่มากกว่าค่าที่กำหนดไว้ เครื่องตัดไฟรั่วมักจะใช้เป็นอุปกรณ์ป้องกันเสริมกับระบบสายดิน เพื่อป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าดูด กรณีเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้มีไฟรั่วเกิดขึ้น 
       5. สายดิน คือสายไฟเส้นที่มีไว้เพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อการใช้ไฟฟ้า ปลายด้านหนึ่งของสายดิน จะต้องมีการต่อลงดิน ส่วนปลายอีกด้านหนึ่ง จะต่อเข้ากับวัตถุหรือเครื่องใช้ไฟฟ้า ที่ต้องการให้มีศักย์ไฟฟ้าเป็นศูนย์เท่ากับพื้นดิน 
       6. เต้ารับ หรือปลั๊กตัวเมีย คือ ขั้วรับสำหรับหัวเสียบ จากเครื่องใช้ไฟฟ้า ปกติเต้ารับจะติดตั้งอยู่กับที่ เช่น ติดอยู่กับผนังอาคาร เป็นต้น
       7. เต้าเสียบ หรือปลั๊กตัวผู้ คือ ขั้วหรือหัวเสียบจากเครื่องใช้ไฟฟ้าเพื่อเสียบเข้ากับเต้ารับ ทำให้สามารถใช้เครื่องใช้ไฟฟ้านั้นได้ 
       8. เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภท 1 หมายถึง เครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไปที่มีความหนาของฉนวนไฟฟ้าเพียงพอ สำหรับการใช้งานปกติเท่านั้น โดยมักมีเปลือกนอก ของเครื่องใช้ไฟฟ้าทำด้วยโลหะ เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทนี้ ผู้ผลิตจำเป็นจะต้องมีการต่อสายดินของอุปกรณ์ไฟฟ้าเข้ากับส่วนที่เป็นโลหะนั้น เพื่อให้สามารถต่อลงดินมายังตู้เมนสวิชต์ โดยผ่านทางขั้วสายดินของเต้าเสียบ-เต้ารับ 
       9. เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภท 2 หมายถึง เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีการหุ้มฉนวน ส่วนที่มีไฟฟ้า ด้วยฉนวนที่มีความหนาเป็น 2 เท่าของความหนาที่ใช้สำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วๆ ไป เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทนี้ไม่จำเป็นต้องต่อสายดิน 
       10. เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภท 3 หมายถึง เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้กับแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับไม่เกิน 50 โวลต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทนี้ไม่ต้องมีสายดิน



ที่มา  http://www.rmutphysics.com/charud/scibook/electric4/topweek8.htm
       http://www.sew.co.th/index.php/

วันจันทร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2558

Mํy mother


 แม่ของฉัน

    แม่คือผู้ให้กำเนิดฉัน คอยดูแลและอบรมสั่งสอนมาตั้งแต่ยังอยู่ในท้อง ท่านเป็นคนใจดีและรักฉันมาก เมื่อฉันอยากได้อะไรแม่ก็จะคอยหามาให้ ในยามที่ฉันมีความสุข แม่ก็จะร่วมยินดีกับความสุขนั้นของฉัน ในยามที่ฉันมีความทุกข์ แม่ก็คือคนที่คอยอยู่เคียงข้างไม่ทิ้งฉันไปไหน แม่เป็นคนที่รู้ว่าฉันชอบหรือไม่ชอบอะไร คอยเป็นที่ปรึกษา คอยเป็นเพื่อน ฉันจึงอยากตอบแทนบุญคุณแม่ ไม่ใช่แค่เพียงในวันนี้เท่านั้น แต่ฉันสัญญาว่าฉันจะรักและคอยดูแลแม่ไปในทุกๆวัน และสุดท้ายฉันอยากจะบอกว่า หนูรักแม่ค่ะ























วันจันทร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

10 เมนูอาหารวันแม่ บอกรักแม่ด้วยอาหารสุขภาพแทนความห่วงใย




1. โจ๊กไข่ขาว 

ใครกำลังมองหาอาหารมื้อเช้าที่เหมาะสำหรับคุณแม่อยู่ลองทำโจ๊กไข่ขาวนี่เลยค่ะ แคลอรีต่ำ ไม่ใส่ไข่แดงแต่ใส่ไข่ขาวล้วน ๆ ดีต่อสุขภาพ ทำง่าย ๆ ใช้เวลาไม่นาน ที่สำคัญกินแล้วไม่อ้วนด้วยค่ะ อาจเพิ่มโปรตีนจากปลาและเติมผักลงไปก็ได้ค่ะ เหยาะซอสลงไปหน่อย เพียงเท่านี้ก็ได้อาหารเบา ๆ อิ่มยามเช้าแล้วค่ะ [สูตรจาก คุณสมาชิกหมายเลข 1474198 สมาชิกเว็บไซต์พันทิปดอทคอม]

ส่วนผสม

ไข่ขาวสำเร็จรูป (หรือใช้ไข่ไก่แล้วนำมาแยกไข่ขาวก็ได้)
เครื่องเคียง เช่น ผักต้ม ทอดมันเจ แซลมอนรมควัน ฯลฯ
เครื่องปรุงรสตามชอบ เช่น ซีอิ๊วขาว หรือซอสแม็กกี้ 
น้ำร้อน

วิธีทำ

1. ต้มผักและผัดเครื่องเคียงที่เตรียมไว้จนสุก พักไว้ 

2. เทไข่ขาวลงในชามแล้วเติมน้ำร้อนลงไป (อัตราส่วนของไข่ขาวต้องมากกว่าน้ำร้อนประมาณครึ่งหนึ่ง) คนให้เข้ากัน ก่อนนำเข้าไมโครเวฟให้ปิดด้วยพลาสติกถนอมอาหาร (เพื่อป้องกันไม่ให้ไข่ขาวแตกกระจายเวลานำเข้าไมโครเวฟจนร้อนเกินไป) นำเข้าไมโครเวฟ (ระหว่างนี้ต้องคอยสังเกตดูเนื้อของโจ๊กเรื่อย ๆ ทุก ๆ 2 นาที) จนได้เนื้อโจ๊กที่ต้องการ เติมเครื่องเคียงที่เตรียมไว้และปรุงรสชาติตามต้องการ









2. เปาะเปี๊ยะสดเวียดนาม 

ถ้ากำลังมองหาอาหารว่างในวันแม่ก็น่าจะลองทำเปาะเปี๊ยะสดเวียดนามสูตรเด็ดจานนี้ดู เพิ่มต้นอ่อนทานตะวันเพื่อบำรุงสุขภาพ ผิวพรรณ สายตา และอุดมไปด้วยวิตามิน บี 1 บี 6 วิตามินอี โอเมก้า 3 นอกจากความนุ่มของแผ่นเปาะเปี๊ยะญวนแล้ว ในแต่ละคำยังเต็มไปด้วยผักหลากหลายชนิด กินเพียว ๆ ก็ได้รสธรรมชาติเน้น ๆ หรือจะกินกับน้ำจิ้มรสแซ่บต้นตำรับสุดซี้ดก็ทำให้หายง่วงได้นะคะ [สูตรจาก คุณ ta_gwang สมาชิกเว็บไซต์พันทิปดอทคอม]

ส่วนผสม

แผ่นแป้งเปาะเปี๊ยะเวียดนาม
ต้นอ่อนทานตะวัน 
ผักกาดหอม
ใบสะระแหน่
แครอทขูดเป็นเส้น
กะหล่ำปลีซอยฝอย
ใบโหระพา
ใบผักชีฝรั่ง
กุ้งลวกสุก
น้ำจิ้มเปาะเปี๊ยะญวน

ส่วนผสม น้ำจิ้มเปาะเปี๊ยะญวน

น้ำตาลทราย
เกลือเล็กน้อน
น้ำส้มสายชู
น้ำเปล่า
พริกขี้หนูซอย
กระเทียมสับ
แครอทซอย
หัวไชเท้าซอย

วิธีทำ

1. นำแผ่นเปาะเปี๊ยะเวียดนามไปแช่น้ำจนนุ่มแล้วนำขึ้นมาวางบนจาน วางผักกาดหอมลงไป ตามด้วยใบสะระแหน่ และแครอทขูดเป็นเส้น ตามด้วยกะหล่ำปลีซอยฝอย ต้นอ่อนทานตะวัน ใบผักชีฝรั่ง และสุดท้ายนำกุ้งที่ลวกไว้วางลงไปข้าง ๆ 

2. ม้วนแผ่นแป้งให้แน่นเป็นท่อนยาว ๆ จากนั้นใช้มีดหั่นเป็นชิ้นพอดีคำ จัดใส่จานเสิร์ฟพร้อมน้ำจิ้มเปาะเปี๊ยะ (รสชาติเปรี้ยว ๆ หวาน)

วิธีทำ น้ำจิ้มเปาะเปี๊ยะญวน

เคี่ยวน้ำตาลทราย เกลือ น้ำส้มสายชู และน้ำในหม้อจนละลายเข้ากัน เติมพริกขี้หนูและกระเทียมสับลงไปตามชอบ พอเดือดใส่แครอทซอยและหัวไชเท้าซอยลงไป คนให้เข้ากัน ชิมรสตามชอบ 










3. ไข่ทอดชะอมรูปหัวใจ

ถ้าคุณแม่เกิดเปรี้ยวปากอยากกินแกงส้มไข่ชะอมขึ้นมา คุณลูกก็เลยรีบกุลีกุจอไปหาซื้อวัตถุดิบ แต่ครั้นจะให้ทำไข่ทอดชะอมแผ่น ๆ แบบเดิม ๆ คงไม่เหมาะกับวันแม่แน่นอน ปิ๊ง ! ลองใช้เครื่องทำวาฟเฟิลรูปหัวใจทอดไข่ชะอมเลยแล้วกัน ทำเป็นชิ้นพอดีคำ ไม่ต้องเสียเวลาตัดแบ่ง ใส่ไข่ชะอมรูปหัวใจในแกงส้มกุ้งสดไร้กะทิดีต่อสุขภาพ เพื่อน ๆ อาจเพิ่มผักลงไปได้ตามชอบเลยนะคะ กินกับข้าวสวยร้อน ๆ อร่อยลิ้นเลยค่ะ [สูตรจาก คุณ Swin สมาชิกเว็บไซต์พันทิปดอทคอม]

ส่วนผสม ไข่ทอดชะอม

ไข่ไก่
ชะอมหั่นละเอียด
น้ำมันพืช
เครื่องทำวาฟเฟิลรูปหัวใจ

วิธีทำ

1. ผสมชะอมกับไข่ไก่ตีให้เข้ากัน 

2. ทาน้ำมันพืชที่พิมพ์วาฟเฟิล พอพิมพ์ร้อนก็ตักไข่ชะอมหยอดลงในพิมพ์ พอปิดพิมพ์แล้วให้ยกพิมพ์พลิกกลับด้านเพื่อให้ไข่ไหลไปที่ด้านบนพิมพ์ รอจนสุกแล้วเปิดพิมพ์

3. แกะไข่ชะอมที่สุกแล้วออกจากพิมพ์ จากนั้นเอากรรไกรตัดตรงขอบ เพื่อให้ดูสวยงาม

ส่วนผสม แกงส้มกุ้ง

กุ้งสด
น้ำพริกแกงส้ม
น้ำมะขามเปียก
เกลือป่น
น้ำตาลปี๊บ

วิธีทำ

1. ปอกเปลือกกุ้งออกแล้วนำเปลือกกุ้งไปต้ม ประมาณ 5 นาที เพื่อเอาน้ำซุป

2. ตักเอาเปลือกกุ้งออกจากน้ำซุป ใส่น้ำพริกแกงส้มลงไปในน้ำซุป ใส่น้ำมะขามเปียก เกลือป่น และน้ำตาลปี๊บลงไปนิดหน่อย พอเดือดก็ใส่กุ้งลงไป 

3. จัดไข่ทอดชะอมล้อมรอบชามแล้วตักกุ้งที่อยู่ในแกงส้มใส่ลงตรงกลาง ตักน้ำแกงส้มราดลงไป เสิร์ฟพร้อมข้าวสวย









4. ยำต้นอ่อนทานตะวัน

ผัดต้นอ่อนทานตะวันดูธรรมดาไปสำหรับวันแม่ ยำต้นอ่อนทานตะวันนี่สิที่น่าลองทำ เมนูสุขภาพที่คุณแม่จะต้องปลื้ม จับต้นอ่อนทานตะวันไปชุบแป้งทอดกรอบ ๆ กินกับน้ำยำแซ่บ ๆ นอกจากคุณค่าของต้นอ่อนทานตะวันแล้ว อาจเพิ่มถั่วหรืองาคั่วลงไปเสริมโปรตีนและแคลเซียมสำหรับคุณแม่ด้วยก็ได้นะคะ หรือจะเปลี่ยนวัตถุดิบก็ได้ตามสะดวกเลย [ดูวิธีทำเพิ่มเติมได้ที่ ยำต้นอ่อนทานตะวัน เมนูสุดซี้ดจากผักออแกนิกส์มากประโยชน์]

ส่วนผสม

ต้นอ่อนทานตะวัน
แป้งทอดกรอบ
น้ำเย็นจัด
น้ำมันพืช (สำหรับทอด)
หมูสับ
ปลาหมึก หั่นเป็นแว่น
กุ้งสด ปอกเปลือกเหลือหาง
มะนาว 1 ลูก
น้ำปลา 1/2 ช้อนโต๊ะ
น้ำตาลทราย 1 ช้อนชา
มะเขือเทศเชอร์รี
หอมใหญ่
ขึ้นฉ่าย

วิธีทำ

1. ละลายแป้งทอดกรอบกับน้ำเย็นจัด คนผสมให้ละลายเข้ากัน

2. ใส่ต้นอ่อนทานตะวันลงไปคลุกในส่วนผสมแป้งให้ทั่ว

3. ตั้งกระทะ ใส่น้ำมันพืชลงไป พอน้ำมันร้อนนำต้นอ่อนทานตะวันลงไปทอดจนสุกเหลืองกรอบ ตักขึ้นสะเด็ดน้ำมัน เตรียมไว้

4. ซอยพริกขี้หนู ซอยขึ้นฉ่าย หั่นมะนาวเป็นซีก ๆ ผ่าครึ่งมะเขือเทศ และหั่นหอมใหญ่บาง ๆ เตรียมไว้

5. ต้มน้ำจนเดือด ใส่หมูสับลงไปรวนจนสุก ตามด้วยกุ้งและปลาหมึก ลวกจนเนื้อสัตว์ทั้งหมดสุกดี เทใส่ภาชนะสำหรับคลุก

6. ใส่น้ำตาลทรายลงไป ตามด้วยน้ำปลา น้ำมะนาว มะเขือเทศ พริกขี้หนู ขึ้นฉ่ายซอย และหอมใหญ่ เคล้าผสมให้เข้ากัน ชิมรสตามชอบ 

7. จัดต้นอ่อนทานตะวันทอดกรอบใส่จาน เสิร์ฟคู่กับน้ำยำที่เตรียมไว้ และผักสลัดตามชอบ










5. ปลาแซลมอนย่างใบชะพลู

ยามบ่ายแก่ ๆ ไม่อยากทำอาหารหนัก ๆ ให้คุณแม่ทาน ต้องนี่เลย ! ปลาแซลมอนย่างใบชะพลูเสียบไม้กินง่าย ใคร ๆ ก็รู้ว่าใบชะพลูมีกลิ่นหอมอันเป็นเอกลักษณ์แถมมีสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายอีกด้วย เมื่อนำมาพันปลาแซลมอนซึ่งเป็นโปรตีนที่ย่อยง่ายแล้วนำไปย่าง กลายเป็นอีกหนึ่งเมนูอาหารสุขภาพย่อยง่าย ๆ กินคู่กับน้ำจิ้มสูตรเด็ด 3 รส อร่อยเพลินเลยค่ะ [สูตรจากนิตยสาร Gourmet & Cuisine]

ส่วนผสม

เนื้อปลาแซลมอน (หั่นชิ้นยาวประมาณ 3 นิ้ว) 200 กรัม
ใบชะพลู 20 ใบ
น้ำมันพืชเล็กน้อย
เกลือป่นและพริกไทยดำบดหยาบเล็กน้อย

ส่วนผสม น้ำจิ้ม

น้ำมะขามเปียก 3 ช้อนโต๊ะ
น้ำตาลปี๊บ 2 ช้อนโต๊ะ
เกลือป่น 1/2 ช้อนชา
น้ำเปล่า 1 ช้อนโต๊ะ
พริกขี้หนูหั่นแว่น 2 เม็ด

วิธีทำ

1. โรยเกลือและพริกไทยดำบนเนื้อปลาแซลมอน จากนั้นห่อด้วยใบชะพลู เสียบไม้แล้วย่างบนกระทะที่ใส่น้ำมันเล็กน้อยจนเนื้อปลาสุก

2. ทำน้ำจิ้มโดยใส่น้ำมะขามเปียก น้ำตาลปี๊บ เกลือป่น และน้ำ ลงไปในหม้อต้มจนเดือด ปิดไฟ พักไว้ให้เย็น ใส่พริกขี้หนู ชิมรส เสิร์ฟพร้อมปลาแซลมอนย่าง










6. ไอศกรีมน้ำเต้าหู้งาดำ 

เมื่อคุณแม่อยากกินไอศกรีม ลูก ๆ อย่างเรามีหรือจะปฏิเสธได้ แต่เนื่องจากเราใส่ใจในสุขภาพของท่านเลยไม่อยากให้ท่านกินไอศกรีมทั่ว ๆ ไป เลยเกิดไอเดียทำไอศกรีมน้ำเต้าหู้งาดำ เพราะคุณแม่ชอบกินน้ำเต้าหู้งาดำ มีสารต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันการเสื่อมของเซลล์ สูตรไม่มีครีม ไม่มีนม ละมุนลิ้น หวานเย็นฉ่ำใจ คุณแม่ต้องขอเบิ้ลแน่นอน [สูตรจาก อาหารบ้าน ๆ ที่บ้านเนินน้ำ]

ส่วนผสม

น้ำเต้าหู้ (ใช้แบบสำเร็จรูปก็ได้)
งาดำคั่วบด
น้ำตาลทราย (มาก-น้อยตามชอบ)
เกลือสมุทร 1 หยิบมือ (ไม่ใส่ก็ได้)

วิธีทำ

1. ใส่น้ำเต้าหู้ งาดำคั่วบด น้ำตาลทราย และเกลือสมุทร ผสมรวมกัน นำขึ้นตั้งไฟให้เดือด จากนั้นยกลงจากเตาแล้วพักไว้ให้เย็น

2. เทส่วนผสมที่เย็นแล้วใส่พิมพ์ ปิดด้วยพลาสติกถนอมอาหาร นำเข้าแช่ตู้เย็นในช่องแช่แข็งจนจับตัวเป็นน้ำแข็ง

3. นำออกจากตู้เย็นแล้วใช้เครื่องตีแบบมือถือ (Hand Mixer) ตีส่วนผสมจนเนียนละเอียด (หรือจะใช้ส้มขูดก็ได้ แต่เครื่องตีมือถือจะรวดเร็วและได้นำแข็งเกล็ดละเอียดกว่า) จากนั้นนำกลับไปแช่ให้แข็งแล้วนำมาปั่นอีกครั้งแล้วนำกลับไปแช่เย็น ทำแบบนี้ 2-3 ครั้ง (ยิ่งทำมากก็ยิ่งจะได้เกล็ดน้ำแข็งละเอียดมาก)

4. นำไอศกรีมที่เนียนละเอียดแล้วตักเป็นลูก ๆ ใส่ถ้วย ท็อปด้วยลูกชิดหรือเครื่องอื่น ๆ ตามชอบ พร้อมเสิร์ฟ











7. แกงบวดฟักทองนมอัลมอนด์ 

แกงบวดฟักทองกะทอทั่ว ๆ ไปคงต้องหลีกทางให้แกงบวดฟักทองนมอัลมอนด์เสียแล้ว อีกหนึ่งเมนูขนมหวานเพื่อสุขภาพเหมาะสำหรับคุณแม่สุด ๆ เลยค่ะ เพราะสูตรนี้ใช้นมอัลมอนด์แทนกะทิ รสชาติแม้จะสู้กะทิไม่ได้ แต่นมอัลมอนด์ก็ให้ความหอม มัน และหวานกลมกล่อม อีกทั้งอัลมอนด์ยังเป็นแหล่งให้พลังงานชั้นเยี่ยมและมีปริมาณไฟเบอร์มากนะคะ [สูตรจาก คุณ Kat Bake Club สมาชิกเว็บไซต์พันทิปดอทคอม]

ส่วนผสม

ฟักทอง หั่นเป็นชิ้นพอคำ 1 ถ้วย
นมอัลมอนด์ 2 ถ้วย (หรือนมสดไขมันต่ำ)
ใบเตย 1 ใบ
น้ำตาลโตนด 1 ช้อนชา (ปรับรสได้ตามใจชอบ)
เกลือป่น 1/8 ช้อนชา (ปรับรสได้ตามใจชอบ)

วิธีทำ

1. นำใส่นมอัลมอนด์ ฟักทอง และใบเตยลงไปในหม้อ นำขึ้นตั้งไฟกลาง ต้มจนเนื้อฟักทองสุก 

2. จากนั้นปรุงรสด้วยน้ำตาลโตนดและเกลือป่น คนให้ละลาย ปิดไฟ พร้อมเสิร์ฟ










8. ซ่าหริ่มสูตรใช้วุ้นเส้น

อากาศร้อนแบบนี้ลองหาขนมหวานเย็น ๆ คลายร้อนสำหรับคุณแม่ดีกว่าค่ะ ขนมซ่าหริ่มสีสวย ๆ ที่ทำเก๋โดยการทำซ่าหริ่มจากวุ้นเส้น ไร้ไขมัน เพิ่มสีสันด้วยน้ำหวาน รสชาติถูกปากแบบนี้น่าจะเหมาะที่สุด วิธีทำไม่ยากค่ะ ทำกินเองง่าย ๆ ที่บ้าน แถมมีความหอมของกะทิอบควันเทียนอีกด้วย [สูตรจาก คุณนัทจัง สบายดี สมาชิกเว็บไซต์พันทิปดอทคอม

ส่วนผสม เส้นซ่าหริ่ม

วุ้นเส้นถุงเล็ก 1 ห่อ
น้ำหวานสีเขียวและสีแดง
น้ำเปล่าสำหรับแช่วุ้นเส้น

ส่วนผสม น้ำเชื่อม

น้ำตาลทราย 250 กรัม
น้ำเปล่า 250 มิลลิลิตร 
ใบเตย 2-3 ใบ
กะทิอบควันเทียนสำเร็จรูป 1 กล่อง

หมายเหตุ : การทำน้ำเชื่อม น้ำตาลทราย 100 กรัม ต่อน้ำเปล่า 100 มิลลิลิตร

วิธีทำ

1. ทำน้ำเชื่อมโดยนำน้ำตาลและน้ำเปล่า เทใส่หม้อ เปิดไฟ ใส่ใบเตยลงไป เคี่ยวจนเหนียว ปิดไฟยกลงจากเตาแล้วพักไว้จนเย็น

2. นำวุ้นเส้นไปแช่น้ำหวานสีแดงและสีเขียว โดยเติมน้ำลงไปผสมด้วย (ถ้าต้องการสีเข้มก็ใส่น้ำน้อย) เมื่อแช่น้ำหวานจนสีของน้ำหวานซึมเข้าไปในตัววุ้นเส้นแล้วให้ตักขึ้นสะเด็ดน้ำ จากนั้นนำวุ้นเส้นไปต้มในน้ำเดือด เมื่อวุ้นเส้นสุกตักขึ้นใส่ในน้ำเย็น จากนั้นตักขึ้นพักไว้ให้สะเด็ดน้ำ

3. จากนั้นเราก็ตักซ่าหริ่มใส่ภาชนะตามด้วยน้ำเชื่อมและกะทิ (กะทิใส่ขนมได้เลยหรือใครจะเอากะทิไปตั้งไฟก่อนก็ได้)










9. น้ำลูกเดือย

ถ้ากำลังมองหาน้ำเพื่อสุขภาพสำหรับคุณแม่นอกจากน้ำผลไม้แล้วยังมีน้ำลูกเดือยด้วยนะคะ อิ่มท้องได้นาน ประโยชน์ก็เยอะ ทำก็ง่าย ที่สำคัญคือ ลูกเดือยมีแคลอรี 0% ซึ่งน้ำลูกเดือยสูตรนี้เป็นแบบเข้มข้นให้รสชาติเหมือนกับกำลังดื่มนมเลยค่ะ อิ่มท้องแต่แคลอรีต่ำรับรองคุณแม่จะต้องชอบแน่นอนค่ะ

ส่วนผสม

ลูกเดือยแห้ง 100 กรัม
ธัญพืชตามชอบ เช่น งาขาว, งาดำ, เม็ดบัว, ถั่วอัลมอนด์
น้ำเปล่า 6 ถ้วย (เพิ่ม-ลดได้ตามความเข้มข้นที่ต้องการ)
น้ำตาลทราย (ตามชอบ)

วิธีทำ

1. แช่ลูกเดือยในน้ำทิ้งไว้อย่างน้อย 1 คืนจนลูกเดือยเริ่มนิ่มขึ้น สะเด็ดน้ำ เตรียมไว้

2. ใส่ลูกเดือย ธัญพืช และน้ำเปล่า 3 ถ้วยลงในเครื่องปั่นแล้วปั่นจนส่วนผสมละเอียดเข้ากันเป็นน้ำ จากนั้นนำไปกรองเอาเฉพาะน้ำ เตรียมไว้ (หรือถ้าใครชอบแบบเข้มข้นไม่ต้องกรองก็ได้) 

3. เทส่วนผสมที่กรองแล้วใส่ลงหม้อ นำขึ้นตั้งไฟอ่อน ๆ ใส่น้ำตาลทรายลงไป (ปริมาณตามต้องการ) คนผสมไปเรื่อย ๆ จนน้ำตาลทรายละลายแล้วชิมรสตามชอบ รอจนส่วนผสมเดือดแล้วปิดไฟ (หรือนำไปต้มในหม้อหุงข้าวก็ได้ตามสะดวก) จากนั้นวางพักไว้จนเย็น ตักใส่แก้ว พร้อมดื่ม










10. น้ำหมักผลไม้ สูตรใส่มะม่วงสุก 

เพื่อน ๆ อาจคุ้นเคยกับเจ้าน้ำหมักผลไม้ (Infused Water) ที่นิยมนำผลไม้หลากหลายชนิดมาใส่ในขวดหรือแก้วแล้วหมักทิ้งไว้ ได้เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพรสชาติไม่ซ้ำใคร แถมสีสันยังสวยงามอีกด้วย สูตรนี้จะใส่มะม่วงสุก อุดมไปด้วยวิตามินเอและเบต้าแคโรทีน หาง่ายในหน้าร้อน น้ำหมักผลไม้แก้วนี้ต้องมีกลิ่นหอมของมะม่วงถูกใจคุณแม่แน่นอน [สูตรจาก นิตยสารแม่บ้าน]

ส่วนผสม

มะม่วงสุก หั่นเป็นเต๋าเล็ก ๆ แช่แข็ง 1 ถ้วยตวง
มิกซ์เบอร์รีแช่แข็ง 1/2 ถ้วยตวง
เลมอนสไลซ์ 1 ผล
น้ำแร่ 2 ถ้วยตวง

วิธีทำ

นำมะม่วงสุก มิกซ์เบอร์รี และเลมอนใส่ในกระบอกแก้วหรือขวดโหล ใช้ช้อนกดผลไม้ให้พอมี น้ำซึมออกมา ใส่น้ำแร่ลงไปจนเต็มปิดฝาให้แน่น นำเข้าตู้เย็นทิ้งไว้ 1 คืน ใช้ดื่มในช่วงเช้าหรือระหว่างวัน


cr.http://cooking.kapook.com/view124196.html